แบบของจานดาวเทียม



จานดาวเทียมที่จะ ซื้อมารับสัญญาณดาวเทียมที่ขายกันอยู่ปัจจุบัน มี ๒ แบบ (จำแนกตามขนาด) คือ จานใหญ่ (เส้นผ่าศูนย์กลาง ตั้งแต่ ๕ ฟุตขึ้นไป) ส่วนใหญ่จะเป็นจานโปร่งสีดำ (ถ้าทึบจะต้านลมมาก ลมแรง ๆ จะพังหมด)
กับจานเล็ก (เส้นผ่าศูนย์กลาง ๗๕ ซม.ลงมา) ที่เห็นเป็นแบบทึบ สีแดง สีขาว สีน้ำเงิน สีเหลือง ฯลฯ

สัญญาณทีวีที่ส่งลงมาจากดาวเทียม จะมี ๒ แบบ คือ C Band และ Ku Band
C Band ความถี่ต่ำ (สัญญาณอ่อน) ครอบคลุมพื้นที่กว้าง เช่น ครอบคลุมทั้งทวีปเอเชีย เป็นต้น แต่ฝนตก เมฆหนาทึป สัญญาณสามารถผ่านลงมาได้ (อ่อนลงบ้าง)
Ku Band ความถี่สูงมาก (สัญญาณแรง) ส่วนมากผู้ส่งจะกำหนดให้สัญญาณลงมาเฉพาะบางพื้นที่ เช่น เฉพาะประเทศไทย เฉพาะประเทศมาเลเซีย เป็นต้น เวลาฝนตก เมฆหนาทึบ สัญญาณไม่สามารถผ่านลงมาได้

กลับมาที่จานดาวเทียมบนหลังคาบ้านอีกที
จานใหญ่ จะรับได้ทั้ง C band และ Ku band (C band ต้องใช้จานใหญ่จึงจะได้สัญญาณเพียงพอ)
จานเล็กจะไรับได้แต่ Ku band (รับ C band ไม่ได้เพราะได้สัญญาณไม่แรงพอ)

จาน ดาวเทียม ไม่ใช่ตัวรับสัญญาณ เป็นเพียงตัวสะท้อนสัญญาณที่ส่งลงมากระทบจานให้ไปรวมที่จุดเดียวกัน เรียกว่าจุดโฟกัส ที่จุดโฟกัสนี้เราจะเอาหัวรับสัญญาณ (LNB) ไปรับสัญญาณ
หัวรับสัญญาณมีหลายแบบ หลายอย่าง เอาแบบคร่าว ๆ ก่อน
- หัวรับสัญญาณ C band จะเป็นรูปทรงกระบอก ขนาดใหญ่และยาว (เมื่อเทียบกับหัวรับสัญญา Ku band) มีวงจรอีเลคโทรนิคให้รับเฉพาะ C band
- หัวรับสัญญาณ Ku band จะมีขนาดเล็กกว่าหัวรับ C band มาก มีวงจรให้รับเฉพาะ Ku band (Ku band ที่ส่งลงมาจากดาวเทียมก็มีหลายความถี่ ต้องเลือกใช้ให้ถูกตามความถี่ที่ต้องการรับด้วย)

วันนี้ขอพักไว้แค่ นี้ครับ ไม่ทราบเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนหรือเปล่า แต่คิดว่าคงเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่คิดจะติดจานดาวเทียมบ้าง ถ้าต้องการอ่านต่อกรุณาแจ้งเข้ามานะครับ