ส่วนประกอบของจานดาวเทียม
ดาวเทียมลอยอยู่บนท้องฟ้าได้อย่างไร
ดาวเทียมสื่อสารจะถูกยิงขึ้นไปเหนือเส้นศูนย์สูตร และส่งเข้าสู่วงโคจรในระดับความสูงที่เรียกความสูงจุดนี้ว่า Clarke Orbit หรือ( ตำแหน่งดาวเทียมค้างฟ้า ) โดยจะมีความสูงจากพื้นโลกโดยประมาณ 36,000.-38,000. กิโลเมตร ในตำแหน่งนี้เองจะทำให้ดาวเทียมลอยค้างฟ้าอยู่ได้ และดาวเทียมจะโคจรไปพร้อมๆกันกับโลกด้วยแรงดึงดูดของโลก และแรงดึงดูดจากนอกโลก ถ้าเปรียบเทียบกับการมองไปจากพื้นโลก เปรียบเสมือนกับว่าดาวเทียมที่ลอยอยู่บนท้องฟ้านั้นลอยอยู่กับที่ครับ
ระบบควบคุมดาวเทียม
ระบบดาวเทียมเองจะมีระบบเชื้อเพลิงใช้ในการควบคุมให้ดาวเทียมลอยอยู่ตรง ตำแหน่ง โดยมีระบบสั่งการจากสถานีคววบคุมภาคพื้นดิน และหากว่าเมื่อไรเชื้อเพลิงที่ใช้ควบคุมตำแหน่งเกิดหมด หมายความว่าดาวเทียมดวงนั้นจะไม่อยู่ในการควบคุมจากสถานีภาคพื้นดินอีกต่อ ไป และจะถือว่าดาวเทียมดวงนั้นเสียใช้งานไม่ได้ อายุโดยประมาณของดาวเทียมจะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 15 ปี
ประโยชน์จากการใช้ดาวเทียม
การสื่อสารผ่านดาวเทียมนับว่าเป็นการสื่อสารที่ประหยัดกว่าเมื่อเปรียบเทียบ กับการสื่อสารระบบอื่นๆ โดยที่ดาวเทียมหนึ่งดวงสามารถส่งสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ของโลกได้มากถึง 40 % ของพื้นที่โลก ระบบการสื่อสารในปัจจุบันจึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะใช้สำหรับการสื่อสารกันระหว่างประเทศ การถ่ายทอดสดกีฬา ข่าวสารสดๆจากทั่วทุกมุมโลก หรือการนำเสนอข่าวสารการสู้รบแบบสดๆจากพื้นๆที่ๆเกิดเหตุ เราสามารถรับรู้เรื่องราวของโลกใบนี้ในเพียงแค่ไม่กีวินาที และ ยังใช้ ได้กับระบบโทรศัพท์ วิทยุ ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ท และอีกหลากหลายระบบที่สามารถใช้การสื่อสารด้วยระบบดาวเทียมได้
ดาวเทียมทำงานอย่างไร
ดาวเทียมจะถูกส่งขึ้นไปลอยอยู่ในตำแหน่ง วงโคจรค้างฟ้า ซึ่งมีระยะห่างจากพื้นโลกประมาณ 36000 - 38000 กิโลเมตร และโคจรตามการหมุนของโลก เมื่อเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นโลกจะเสมือนว่าดาวเทียมลอยนิ่งอยู่บนท้องฟ้า และดาวเทียมจะมีระบบเชื้อเพลิงเพื่อควบคุมตำแหน่งให้อยู่ในตำแหน่งองศาที่ ได้สัปทานเอาไว้ กับหน่วยงานที่ดูแลเรื่องตำแหน่งวงโคจรของดาวเทียมคือ IFRB ( International Frequency Registration Board )
การรับและส่งสัญญาณ
ดาวเทียมที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า จะทำหน้าที่เหมือนสถานีทวนสัญญาณ คือจะรับสัญญาณที่ยิงขึ้นมาจากสถานีภาคพื้นดิน เรียกสัญญาณนี้ว่า สัญญาณขาขึ้นหรือ ( Uplink ) รับและขยายสัญญาณพร้อมทั้งแปลงสัญญาณให้มีความถี่ต่ำลงเพื่อป้องกันการรบกวน กันระหว่างสัญญาณขาขึ้นและส่งลงมา โดยมีจานสายอากาศทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณ ส่วนสัญญาณในขาลงเรียกว่า ( Downlink )
พื้นที่การให้บริการดาวเทียม
ขอบเขตพื้นที่การให้บริการดาวเทียม เรียกว่า Footprint ดาวเทียมสามารถกำหนดขอบเขตการส่งสัญญาณกลับมายังภาคพื้นดินได้ ดังภาพดาวเทียมที่ส่งสัญญาณในย่านความถี่ C-BAND จะมีกำลังส่งค่อนข้างต่ำประมาณ 8-16 วัตต์ ดังนั้นเมื่อสัญญาณส่งมาถึงโลกจึงมีสัญญาณที่อ่อนมาก ในการรับสัญญาณเราจึงจำเป็นต้องใช้จานที่มีขนาดใหญ่ แต่มีข้อดีคือครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างรวมทั้งสามารถตั้งมุมยิงสายอากาศให้มี ขอบเขตจุดศูนย์กลางของสัญญาณโดยเน้นความเข็มของสัญญาณไว้ได้ถึง 2 จุด ดังรูปภาพ ที่จุด A สาเหตุที่ไม่สามารถส่งสัญญาณที่กำลังวัตต์สูงๆได้ เนื่องจากในภาคพื้นดินก็ยังคงใช้ความถี่อยู่ในย่านนี้ด้วยเหมือนกัน เพราะถ้าส่งที่กำลังวัตต์สูงๆจะทำให้เกิดการรบกวนกันระหว่างคลื่น
ส่วนการส่งในย่านความถี่ KU-BAND จะส่งด้วยกำลังวัตต์ที่สูงกว่าระบบ C-BAND หรือบางประเทศก็ส่งที่กำลังวัตต์สูงๆเลย ทำให้สัญญาณที่รับได้ที่ภาคพื้นดินมีความเข็มสัญญาณสูงมาก ในการรับสัญญาณในระบบนี้จึงใช้จานที่มีขนาดเล็กๆก็รับสัญญาณได้แล้ว จานที่ ใช้กับระบบ KU-BAND จะมีขนาดตั้งแต่ 1.5 ฟุตขึ้นไป ขอบเขตในการส่งสัญญาณหรือ Footprint ในระบบ KU-BAND ส่วนมากจะส่งสัญญาณในขอบเขตที่จำกัดเช่นมีขอบเขตเฉพาะจัหวัด หรือ เฉพาะประเทศ ในระบบเคเบิ้ลทีวีผ่านดาวเทียมส่วนมากจะนิยมใช้ระบบนี้ในการส่งสัญญาณเพื่อ บริการลูกค้า เพราะว่าสามารถจะ บริการลูกค้าได้ง่าย ใช้จานรับที่มีขนาดเล็กทำให้ประหยัดต้นทุนโดยรวม ข้อเสียของระบบนี้คือ จะมีผลต่อสัญญาณเมื่อมีฝนตกหนักหรือท้องฟ้าปิดด้วยเมฆฝนมากๆ จะทำให้รับสัญญาณได้อ่อนลงหรืออาจจะรับไม่ได้ในในเวลานั้น แล้วก็จะกลับคืนมาปกติเมื่อสภาพอากาศปกติ
Satellite Antenna จานรับสัญญาณดาวเทียม
หน้าที่หลักของจานรับสัญญาณดาวเทียม คือทำหน้าที่สะท้อนสัญญาณที่รับได้จากดาวเทียม เพื่อรวมสัญญาณไปที่จุดโฟกัสของจาน ( Center Focus ) ซึ่งจุดโฟกัสนี้จะอยู่บริเวณหน้าจาน จานในรูปแบบลักษณะนี้เรียกว่า จานแบบ พาราโบลิก ( Parabolic ) ส่วนตัว LNB จะติดตั้งไว้ที่จุดโฟกัสนี้ เพื่อรับสัญญาณให้ได้แรงที่สุด จานดาวเทียมที่นิยมใช้กันอย่างมาก คือ จานดาวเทียมแบบตะแกรง ตามภาพตัวอย่าง ข้อดีของจานแบบนี้คือ ไม่ต้านลม น้ำหนักเบา หาที่ติดตั้งได้ง่าย ตัวโครงจาน และแผ่นตะแกรงสะท้อนสัญญาณผลิตขึ้นจากอลูมิเนียม ทำให้น้ำหนักเบาและหมดปัญหาเรื่องสนิม และวัสดุนี้ยังมีคุณสมบัติการสะท้อนสัญญาณได้ดีอีกด้วย |
LNB หัวรับสัญญาณดาวเทียม
LNB ย่อมาจากคำว่า ( Low Noise Blockdown Converter ) หน้าที่การทำงานหลักๆคือ รับสัญญาณที่ได้จากจุดรวมสัญญาณที่หน้าจาน แล้วขยายสัญญาณให้มีความแรงมากขึ้น ด้วยวงจรขยายสัญญาณที่มีเกนการขยายสูงและการรบกวนต่ำ แล้วแปลงสัญญาณให้มีความถี่ที่ต่ำกว่าก่อนส่งออกจาก LNB ความถี่ที่ออกมาจาก LNB นี้เรียกว่าความถี่ IF ( Intermediate Frequency ) แล้วส่งผ่านสายนำสัญญาณ Coaxinal Cable เข้าสู่เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมต่อไป
LNB ย่อมาจากคำว่า ( Low Noise Blockdown Converter ) หน้าที่การทำงานหลักๆคือ รับสัญญาณที่ได้จากจุดรวมสัญญาณที่หน้าจาน แล้วขยายสัญญาณให้มีความแรงมากขึ้น ด้วยวงจรขยายสัญญาณที่มีเกนการขยายสูงและการรบกวนต่ำ แล้วแปลงสัญญาณให้มีความถี่ที่ต่ำกว่าก่อนส่งออกจาก LNB ความถี่ที่ออกมาจาก LNB นี้เรียกว่าความถี่ IF ( Intermediate Frequency ) แล้วส่งผ่านสายนำสัญญาณ Coaxinal Cable เข้าสู่เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมต่อไป
LNB C-Ban
LNB Ku-Band
เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม Satellite Receiver
Satellite Receiver หรือ เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม คือเครื่องแปลงสัญญาณ ที่รับมาจาก LNB ในช่วงความถี่ IF มาผ่านขบวนการ แปลงสัญญาณออกมาเป็นสัญญาณภาพและสัญญาณเสียง เครื่องรับดาวเทียมในปัจจุบันมี 2 ระบบด้วยกัน คือ ระบบ Analog และระบบ Digital |
ระบบเครื่องรับแบบ Analog
เป็นเครื่องที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณที่รับได้จากดาวเทียม ออกมาเป็น ภาพและเสียงโดยตรง ขั้นตอน จะไม่ยุ่งยาก ระบบนี้หากว่าสัญญาณที่รับได้มีความแรงของสัญญาณที่เพียงพอ ภาพที่ได้ก็จะมีความคมชัด แต่หากว่าสัญญาณที่ได้อ่อน ภาพที่ได้จะไม่ชัดและเป็นเม็ดไฟกวน ในระบ Analog สำหรับการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม ใน 1 ช่องดาวเทียม ( ช่องทรานสปอนเดอร์ ) จะส่งรายการทีวีได้ 1 ช่องรายการ หรือถ้าบีบอัดสัญญาณก็จะได้ที่ 2 ช่องรายการแต่คุณภาพที่ได้จะไม่ดีเท่าที่ควร ปัจจุบันระบบนี้ไม่นิยมใช้กันแล้ว
เป็นเครื่องที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณที่รับได้จากดาวเทียม ออกมาเป็น ภาพและเสียงโดยตรง ขั้นตอน จะไม่ยุ่งยาก ระบบนี้หากว่าสัญญาณที่รับได้มีความแรงของสัญญาณที่เพียงพอ ภาพที่ได้ก็จะมีความคมชัด แต่หากว่าสัญญาณที่ได้อ่อน ภาพที่ได้จะไม่ชัดและเป็นเม็ดไฟกวน ในระบ Analog สำหรับการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม ใน 1 ช่องดาวเทียม ( ช่องทรานสปอนเดอร์ ) จะส่งรายการทีวีได้ 1 ช่องรายการ หรือถ้าบีบอัดสัญญาณก็จะได้ที่ 2 ช่องรายการแต่คุณภาพที่ได้จะไม่ดีเท่าที่ควร ปัจจุบันระบบนี้ไม่นิยมใช้กันแล้ว
ระบบเครื่องรับแบบ Digital
เครื่องรับดาวเทียมระบบ Digital เป็นเครื่องรับดาวเทียม ที่รับสัญญาณจากดาวเทียมที่ส่งสัญญาณแบบ ดิจิตอล แล้วทำการแปลงสัญญาณข้อมูลด้วยระบบถอดรหัสแบบ Digtal ให้เป็นภาพและเสียงที่สมบูรณ์แบบ ระบบบีบอัดสัญญาณที่ใช้ในระบบดาวเทียมคือระบบ MPEG-II เป็นระบบถอดรหัสแบบเดียวกันกับเครื่องเล่น DVD ซึ่งให้ความคมชัดมาก ทั้งระบบภาพและเสียง
สำหรับระบบ Digital ในกรณีที่สัญญาณที่รับได้จากระบบดาวเทียมมีความแรงสัญญาณต่ำ ถ้าเป็นแบบระบบเดิมภาพที่ได้จะไม่ชัดและเป็นลักษณะเม็ดไฟกวนภาพ แต่ถ้าเป็นระบบ Digital ระบบจะยังคงประมวลผลได้ และระบบภาพเสียงที่ได้ก็จะยังคงความคมชัดอยู่เหมือนเดิม ( ยกเว้นสัญญาณที่รับได้อ่อนมากๆหรือต่ำเกินไป )
ใน ส่วนการรับส่งสัญญาณใน 1 ช่องทรานสปอนเดอร์ สำหรับระบบ Digital สามารถบีบอัดสัญญาณช่องรายการโทรทัศน์ได้มากถึง 4 - 8 ช่องรายการ ต่อ 1 ช่องทรานสปอนเดอร์ ด้วยระบบการบีบอัดในแบบ Digital ทำให้การเช่าช่องส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมจึงไม่จำเป็นต้องเช่าทั้ง ทรานสปอนเดอร์ แบ่งเช่าได้ทำให้มีราคาการเช่าที่ถูกลง และช่องรายการโทรทัศน์ช่องต่างๆทั้งในและต่างประเทศ จึงนิยมใช้ระบบนี้กันอย่างรวดเร็วและแพร่หลาย ปัจจุบันช่องรายการผ่านดาวเทียมมีมากถึง 400 กว่าช่องรายการ และคาดว่าจะมีมากขึ้นอีกในอนาคต
เครื่องรับดาวเทียมระบบ Digital เป็นเครื่องรับดาวเทียม ที่รับสัญญาณจากดาวเทียมที่ส่งสัญญาณแบบ ดิจิตอล แล้วทำการแปลงสัญญาณข้อมูลด้วยระบบถอดรหัสแบบ Digtal ให้เป็นภาพและเสียงที่สมบูรณ์แบบ ระบบบีบอัดสัญญาณที่ใช้ในระบบดาวเทียมคือระบบ MPEG-II เป็นระบบถอดรหัสแบบเดียวกันกับเครื่องเล่น DVD ซึ่งให้ความคมชัดมาก ทั้งระบบภาพและเสียง
สำหรับระบบ Digital ในกรณีที่สัญญาณที่รับได้จากระบบดาวเทียมมีความแรงสัญญาณต่ำ ถ้าเป็นแบบระบบเดิมภาพที่ได้จะไม่ชัดและเป็นลักษณะเม็ดไฟกวนภาพ แต่ถ้าเป็นระบบ Digital ระบบจะยังคงประมวลผลได้ และระบบภาพเสียงที่ได้ก็จะยังคงความคมชัดอยู่เหมือนเดิม ( ยกเว้นสัญญาณที่รับได้อ่อนมากๆหรือต่ำเกินไป )
ใน ส่วนการรับส่งสัญญาณใน 1 ช่องทรานสปอนเดอร์ สำหรับระบบ Digital สามารถบีบอัดสัญญาณช่องรายการโทรทัศน์ได้มากถึง 4 - 8 ช่องรายการ ต่อ 1 ช่องทรานสปอนเดอร์ ด้วยระบบการบีบอัดในแบบ Digital ทำให้การเช่าช่องส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมจึงไม่จำเป็นต้องเช่าทั้ง ทรานสปอนเดอร์ แบ่งเช่าได้ทำให้มีราคาการเช่าที่ถูกลง และช่องรายการโทรทัศน์ช่องต่างๆทั้งในและต่างประเทศ จึงนิยมใช้ระบบนี้กันอย่างรวดเร็วและแพร่หลาย ปัจจุบันช่องรายการผ่านดาวเทียมมีมากถึง 400 กว่าช่องรายการ และคาดว่าจะมีมากขึ้นอีกในอนาคต
เครื่องรับดาวเทียมแบบ MOVE
เครื่องรับดาวเทียมแบบ MOVE หรือ เครื่องรับดาวเทียมแบบมีระบบขันเคลื่อนจานอยู่ในตัวเครื่อง จะมีวงจรหมุนจานดาวเทียมแบบอัตโนมัติโดยจะออกแบบให้มีระบบจำต่ำแหน่งของดาว เทียมได้ และจะทำงานสัมพันธ์กันกับระบบช่องรายการที่เลือกชม เมื่อเวลาที่ผู้ใช้เครื่องกดปุ่มช่องรายการ ตัวจานจะหมุนไปหาต่ำแหน่งดาว เทียมเองอย่างอัตโนมัติ ทำให้ระบบนี้รับช่องรายการได้มาก และยังสามารถค้นหาช่องรายการหรือดาวเทียมดวงใหม่ๆเพิ่มเติมได้ด้วยตัวผู้ใช้ เอง อีกทั้งยังมีระบบ อินเตอร์เน็ต ช่วยในการค้นหาช่องรายการใหม่ๆได้อีกด้วย เว็บไซด์ที่เกี่ยวกับช่องรายการทีวีผ่านดาวเทียมคือ www.lyngsat.com , www.satcodx.com
เครื่องรับดาวเทียมแบบ MOVE หรือ เครื่องรับดาวเทียมแบบมีระบบขันเคลื่อนจานอยู่ในตัวเครื่อง จะมีวงจรหมุนจานดาวเทียมแบบอัตโนมัติโดยจะออกแบบให้มีระบบจำต่ำแหน่งของดาว เทียมได้ และจะทำงานสัมพันธ์กันกับระบบช่องรายการที่เลือกชม เมื่อเวลาที่ผู้ใช้เครื่องกดปุ่มช่องรายการ ตัวจานจะหมุนไปหาต่ำแหน่งดาว เทียมเองอย่างอัตโนมัติ ทำให้ระบบนี้รับช่องรายการได้มาก และยังสามารถค้นหาช่องรายการหรือดาวเทียมดวงใหม่ๆเพิ่มเติมได้ด้วยตัวผู้ใช้ เอง อีกทั้งยังมีระบบ อินเตอร์เน็ต ช่วยในการค้นหาช่องรายการใหม่ๆได้อีกด้วย เว็บไซด์ที่เกี่ยวกับช่องรายการทีวีผ่านดาวเทียมคือ www.lyngsat.com , www.satcodx.com
มอเตอร์หมุนจาน Motor Actuator
มอเตอร์สำหรับจานดาว เทียมจะทำหน้าที่ปรับตำแหน่งหน้าจาน ให้ปรับเปลี่ยนมุมการรับไปยังตำแหน่งต่างๆ ที่ดาวเทียมลอยอยู่บนท้องฟ้า โดยหลักการทำงานง่ายๆคือ ตัวมอเตอร์จะหมุนทำให้แกนกลางของมอเตอร์ยืดเข้าออกได้ และระดับการยืดเข้าออก จะมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ ผลิตลูกคลื่นที่ชุดมอเตอร์เพื่อเป็นตัวนับระยะยืดเข้าออกของแกนกลาง และส่งกลับไปที่เครื่องรับดาวเทียม เพื่อทำหน้าที่นับและบันทึก ตำแหน่งของดาวเทียมที่จุดต่างๆ |
เป็นการออกแบบโปรแกรมเครื่องรับดาวเทียม ให้มีความสามารถในการถอดรหัสเคเบิ้ลทีวีได้ และ โหลดโปรแกรมการถอดรหัสลงเครื่องโดยตรง เมื่อรับสัญญาณเคเบิ้ลทีวีที่ส่งรหัสล็อคมา ตัวเครื่องจะสามารถถอดรหัสและสามารถรับชมรายการเคเบิ้ลทีวีนั้นๆได้ เครื่องรับดาวเทียมแบบนี้ จะมีอยู่บางรุ่นบางยี่ห้อเท่านั้น โปรแกรมลักษณะนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับบริษัท และสถานีส่งเจ้าของเคเบิ้ลนั้นๆด้วย
เครื่องรับดาวเทียม แบบเสียบการ์ดเคเบิ้ลทีวีได้ คือเครื่องรับดาวเทียมที่มีช่องสำหรับเสียบสมาร์ทการ์ด สำหรับผู้ที่ต้อง การเป็นสมาชิกเคเบิ้ลทีวีทั้งไทยและต่างประเทศ และตัวเครื่องจะต้องมีโปรแกรมรองรับเคเบิ้ลทีวีนั้นๆด้วยจึงจะรับสัญญาณ ได้ เช่นระบบการล็อครหัสแบบ IRDETO , VIACCESS , CONAX , SECA , NAGRAVISION ระบบการล็อคนี้ตัวเครื่องรับบางรุ่นอาจจะเป็นระบบเดียวโดยตรงตัวใดตัวหนึ่ง หรือบางเครื่องอาจจะเป็นแบบ ALL-CAM หมายถึงรองรับได้ทุกระบบเลยที่เดียว ก่อนตัดสินใจเป็นเจ้าของควรศึกษาระบบสักนิดนะครับ |